วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาเซียน


ความเป็นมาของอาเซียน
อาเซียน  หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นภาใต้ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ สิงหาคม 2510 โดยมีสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง 5ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ สมัครเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกังพูชา ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ นโยบายของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนการของอาเซียนในระยะยาว
อาเซียนมีความร่วมมือทางสังคมและวัฒนธรรมครอบคลุมทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เยาวชน และได้มีการพัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ในพ.ศ. 2546 ผู้นำประเทศอาเซียนได้เห็นชอบร่วมกันจัดตั้ง ประชาคม สังคม อาเซียน ซึ่งมีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในเสาหลัก เพื่อให้การพัฒนาการร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นไปโดยมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และอาเซียนได้ตั้งเป้าหมายเป็นประชาคมสังคมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) ในปีพ.ศ. 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ผลลัพย์ที่เกิดจากการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน คือ ประเทศสมาชิกจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา การเสริมสร้างความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีความเป็นอยู่ดีกินดีและมีฐานะทางสังคมที่ทัดเทียมกัน



วัตถุประสงค์

            ปฏิญญา อาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค และ 2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ  หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ

ใน โอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน

ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้ว เสร็จภายในปี 2558



      ประเทศสมาชิกอาเซี่ยน





1. ไทย
2. พม่า
3. ลาว
4. เวียดนาม
5. กัมพูชา
6. สิงคโปร์
7. มาเลเซีย
8. บรูไน
9. ฟิลิปินส์
10. อินโดนีเซีย




วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ร้านขายของ

สุขภาพดีมีขายหรือไม่




 1. แอปเปิ้ล แตงโม กล้วย กีวีต้องระวัง
ผลไม้ทั้ง 3 ชนิดนี้มีประโยชน์มาก แต่ถ้าคุณกำลังทานยาปฏิชีวนะอยู่ ผลไม้พวกนี้จะกลายเป็นโทษทันทีเพราะมันบูดในลำไส้ได้ง่าย อาจจะทำให้เกิดอาการอักเสบในระบบทางเดินอาหารได้

         2. ผลไม้กับมื้ออาหารก่อนทานอาหารควรจะเรยีกน้ำย่อยด้วยสับปะรดและมะละกอสัก 2-3 ชิ้น ผลไม้สองชนิดนี้มีเอนไซม์ที่จะช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารมื้อหลักที่กำลังจะตามลงมาได้ง่ายขึ้น และหลังจากจบมื้ออร่อยแล้วควรตบท้ายด้วยแอปเปิ้ลสัก 1 ชิ้นเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลายซึ่งจะทำให้จำนวนแบคทีเรียในช่องปากลดลง และช่วยให้เหงือกแข็งแรงด้วย

        3. อย่าปล่อยให้หิว
ควรจะทานอาหารให้ตรงเวลาทุกวันแม้จะยังไม่รู้สึกหิวก็ตาม เพราะเวลาที่เราหิวร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนควมเครียดออกมา ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้เป็นประจำก็จะทำให้คุณกลายเป็นสาวเครียด และนำไปสู่อาการความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือเบาหวาน